ขิง

ชื่อสมุนไพร

ขิง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Zingiber officinale Roscoe

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • เหง้าขิงช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และจุกเสียด ขนาดรับประทานแนะนำโดยบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่ รับประทาน 2-4 กรัมต่อวัน เมื่อมีอาการ

          *ข้อมูลจากการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  • ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการเมารถหรือเมาเรือ ขนาดรับประทาน 1-2 กรัมต่อวัน ก่อนเดินทาง 30 นาที

          *รับรองโดยบัญชียาหลักแห่งชาติ และ European Medicines Agency

  • บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนในหญิงตั้งครรภ์ ขนาดรับประทาน 250 มก. วันละ 4 ครั้ง เมื่อมีอาการ

          *รับรองโดย European Medicines Agency

  • งานวิจัย 6 การศึกษาในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง 345 คน รับประทานขิงผง 0.5-3 กรัมต่อวัน เป็นเวลาอย่างน้อย 8 สัปดาห์ พบว่า ลดความดันโลหิตได้

          *สูง, ใช้เสริมการรักษามาตรฐาน และห้ามหยุดยาลดความดันโลหิตที่แพทย์จ่าย

  • งานวิจัย 3 การศึกษาในผู้ป่วยไมเกรน จำนวน 227 คน รับประทานสารสกัดขิงแคปซูล ขนาด 200 มก. วันละ 2-3 ครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน

            *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้

  • งานวิจัย 5 การศึกษาในผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม จำนวน 593 คน รับประทานสารสกัดขิง ขนาด 500-1,000 มก.ต่อวัน อย่างน้อย 3 สัปดาห์ พบว่า ช่วยบรรเทาอาการปวด

           *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัย 3 การศึกษาในหญิงหลังคลอด จำนวน 246 คน ใช้ลูกประคบที่มีขิงเป็นส่วนประกอบร่วมกับการนวดเต้านมในหญิงหลังคลอด ช่วยกระตุ้นให้หลั่งน้ำนมออกมาเร็วขึ้น และขิงผง ขนาด 500 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง หลังคลอดบุตรภายใน 2 ชม. ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมใน 3 วันแรกหลังคลอดบุตร

          *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 7 การศึกษาในหญิงที่ปวดประจำเดือนปานกลางถึงมาก จำนวน 1,066 คน รับประทานขิงผงขนาด 500-1,500 มก.ต่อวัน แบ่งให้ 3-4 ครั้งต่อวัน รับประทาน 3 วันแรกของการมีประจำเดือน ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน

          *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้

  • งานวิจัยในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด จำนวน 744 คน รับประทานขิงขนาด 500-1,000 มก.ต่อวัน แบ่งให้ 2 ครั้งต่อวัน ก่อนได้รับยาเคมีบำบัด 3 วัน และรับประทานเป็นเวลา 6 วัน ร่วมกับยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัด (ได้รับในวันที่ได้ยาเคมีบำบัด) พบว่า ขิงช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้จากยาเคมีบำบัดเสริมจากยาแผนปัจจุบัน โดยเฉพาะในวันแรกที่ได้รับยาเคมีบำบัด

          *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้ โดยใช้ร่วมกับยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลว่าช่วยลดน้ำหนักตัวได้ แม้ว่างานวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่าได้ผล

          *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลว่าช่วยป้องกันหรือรักษาโรคโควิดได้ แม้ว่างานวิจัยในหลอดทดลองพบว่าเพิ่มภูมิคุ้มกันได้ (IFN-beta)

          *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ป่วยโควิดที่มีอาการ จำนวน 100 คน รับประทานผงขิง ครั้งละ 1,000 มก. วันละ 3 ครั้ง ร่วมกับ Echinacea ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง (ไม่ได้ระบุขนาด) เป็นเวลา 7 วัน เทียบกับยา hydroxychloroquine ติดตามเป็นเวลา 14 วัน พบว่า บรรเทาอาการไอ ปวดกล้ามเนื้อ และอาการหอบได้

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้ 

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Hasani H, Arab A, Hadi A, Pourmasoumi M, Ghavami A, Miraghajani M. Does ginger supplementation lower blood pressure? A systematic review and meta-analysis of clinical trials. Phytother Res. 2019;33(6):1639-47.
  2. Dhippayom T, Kongkaew C, Chaiyakunapruk N, Dilokthornsakul P, Sruamsiri R, Saokaew S, et al. Clinical effects of Thai herbal compress: A systematic review and meta-analysis. Evid Based Complement Alternat Med. 2015;2015:942378.
  3.  Drugs and Lactation Database (LactMed). Ginger.  2019; Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK501786/.
  4. Li H, Liu Y, Luo D, Ma Y, Zhang J, Li M, et al. Ginger for health care: An overview of systematic reviews. Complement Ther Med. 2019;45:114-23.
  5. Bartels EM, Folmer VN, Bliddal H, Altman RD, Juhl C, Tarp S, et al. Efficacy and safety of ginger in osteoarthritis patients: a meta-analysis of randomized placebo-controlled trials. Osteoarthr Cartil. 2015;23(1):13-21.
  6. Ryan JL, Heckler CE, Roscoe JA, Dakhil SR, Kirshner J, Flynn PJ, et al. Ginger (Zingiber officinale) reduces acute chemotherapy-induced nausea: A URCC CCOP study of 576 patients. Support Care Cancer. 2012;20(7):1479-89.
  7. Torabi M, Naeemzadeh F, Ebrahimi V, Taleschian-Tabrizi N, Pashazadeh F, Nazemie H. 133: The effect of Zingiber officinale (ginger) on hypertension; A systematic review of randomised controlled trials. BMJ Open. 2017;7(Suppl 1):bmjopen-2016-015415.133.
  8. Chang JS, Wang KC, Yeh CF, Shieh DE, Chiang LC. Fresh ginger (Zingiber officinale) has anti-viral activity against human respiratory syncytial virus in human respiratory tract cell lines. J Ethnopharmacol. 2013;145(1):146-51.
  9. Negi R, Sharma SK, Gaur R, Bahadur A, Jelly P. Efficacy of ginger in the treatment of primary dysmenorrhea: A systematic review and meta-analysis. Cureus. 2021;13(3):e13743.
  10. Mesri M, Esmaeili Saber SS, Godazi M, Roustaei Shirdel A, Montazer R, Koohestani HR, et al. The effects of combination of Zingiber officinale and Echinacea on alleviation of clinical symptoms and hospitalization rate of suspected COVID-19 outpatients: a randomized controlled trial. J Complement Integr Med. 2021;doi: 10.1515/jcim-2020-0283. Online ahead of print.
  11. Chen L, Cai Z. The efficacy of ginger for the treatment of migraine: A meta-analysis of randomized controlled studies. Am J Emerg Med. 2021;46:567-71.
  12. Nikkhah Bodagh M, Maleki I, Hekmatdoost A. Ginger in gastrointestinal disorders: A systematic review of clinical trials. Food Sci Nutr. 2019;7:96-108.
  13. Ryan JL, Morrow GR. Ginger. Oncol Nurse Ed. 2010;24(2):46-49.
  14. Romm A, Hardy ML, Mills S. GINGER. In: Romm A, Hardy ML, Mills S, eds. Botanical Medicine for Women's Health. Saint Louis: Churchill Livingstone; 2010:536-538.
  15. European Medicines Agency. Assessment report on Zingiber officinale Roscoe, rhizoma. 2012.
  16. Hu Y, Amoah AN, Zhang H, et al. Effect of ginger in the treatment of nausea and vomiting compared with vitamin B6 and placebo during pregnancy: a meta-analysis. J Matern-Fetal Neonatal Med. 2022;35(1):187-196.
  17. Revol B, Gautier-Veyret E, Arrivé C, Fouilhé Sam-Laï N, McLeer-Florin A, Pluchart H, et al. Pharmacokinetic herb-drug interaction between ginger and crizotinib. Br J Clin Pharmacol. 2020;86(9):1892-3.
  18. Modi M, Modi K. Ginger Root. In: StatPearls [Internet]. Vol 2023. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2022: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK565886/.
  19. Qiu JX, Zhou ZW, He ZX, Zhang X, Zhou SF, Zhu S. Estimation of the binding modes with important human cytochrome P450 enzymes, drug interaction potential, pharmacokinetics, and hepatotoxicity of ginger components using molecular docking, computational, and pharmacokinetic modeling studies. Drug Des Devel Ther. 2015;9:841-66.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 154595